เรื่องของตุ่ม PPE

ตุ่ม PPE (Pruritic Papular Eruption in HIV) ตุ่มแผลคัน มักเกิดกับผู้ติดเชื้อ HIV ที่เข้าสู่ภาวะที่มี CD4 ต่ำกว่า 100 หรือเป็นผู้ป่วยเอดส์แล้ว เป็นเพียงหนึ่งในอาการของผู้ติดเชื้อระยะสุดท้ายขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคนด้วย ถ้ามีปริมาณเชื้อ HIV เยอะ แล้วภูมิคุ้มกันน้อย ก็อาจมีตุ่ม PPE มากขึ้นได้

ลักษณะตุ่ม PPE

เป็นลักษณะตุ่มคัน เหมือนกับยุ่งหรือแมลงกัด มีรอยแดงอักเสบ รอยดำหลังการอักเสบ อาจมีหนองจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่แทรกซ้อนมาจากการเกา ประกอบกับมีภูมิคุ้มกันต่ำอยู่แล้ว มักเป็นที่แขนขามากกว่าใบหน้า พบได้ทั้งในและนอกร่มผ้า

การรักษาตุ่ม PPE

โดยทั่วไปจะเป็นการรักษาตามอาการ คือ ห้ามเกา ดูแลผิวไม่ให้แห้ง กินยาแก้แพ้แก้คัน ทายาแก้คัน แต่การทายา จริงๆแล้วก็ช่วยให้หายคันชั่วคราว ถ้าจะรักษาให้ตุ่มหายและไม่คัน ควรเพิ่มภูมิคุ้มกันจะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ เพราะตุ่มนี้มาจากเมื่อภูมิคุ้มกันลดลงร่างกายติดเชื้อต่างๆแทรกซ้อนได้ง่าย จึงติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังได้ ทำให้เกิดเป็นตุ่มคัน และอาจมีหนอง

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์รวมทั้งคำแนะนำของ WHO องค์การอนามัยโลก ยังแนะนำให้ผู้ติดเชื้อเน้นการเพิ่ม CD4 ซึ่งเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันมากกว่า มองที่การลดจำนวน HIV viral load เพราะถ้า CD4 เพิ่มสูง ภูมิคุ้มกันแข็งแรง ก็ช่วยให้เม็ดเลือดขาวในร่างกายกำจัดเชื้อโรคต่างๆได้ดีขึ้น แม้แต่ผู้ติดเชื้อที่มี CD4 ลดต่ำลง หากเพิ่ม CD4 ได้ ร่างกายก็อาจกลับมาเป็นปกติได้