การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด วิธีการรักษาโรคมะเร็งในยุคสมัยใหม่ เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรง เพื่อมาต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ รวมถึงเซลล์มะเร็งด้วย
หากพูดถึงโรคมะเร็ง เชื่อว่าหลายคนคงกลัวมาก และไม่อยากพบเจอกับโรคนี้ เพราะวิธีการรักษาทางการแพทย์ที่มีมาอย่างยาวนาน และสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งในร่างกายได้ อย่างการทำเคมีบำบัด ซึ่งวิธีการนี้สามารถจัดการกับเซลล์มะเร็งได้จริง แต่ก็ทำให้ร่างกายอ่อนแอลงเช่นกัน เนื่องจากเคมีบำบัดจะเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งไม่ให้มีการเจริญเติบโต รวมถึงทำลายเซลล์เจริญพันธุ์อื่น ๆ ในร่างกายด้วย ดังนั้น การจัดการโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันในร่างกายจึงเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ป่วย เพื่อหลีกเลี่ยงจากการทำเคมีบำบัด และผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่จะตามมา อย่างเช่น อาการผิวหนังแห้ง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ร่างกายอ่อนแรง ผมร่วง และผลข้างเคียงอื่น ๆ อีกมากมาย
การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) แบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ตามกลไกการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน ดังนี้
1. โมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibodies)
โมโนโคลนอลแอนติบอดี เป็นโปรตีนสังเคราะห์ ที่เลียนแบบสารภูมิต้านทานที่เป็นโปรตีนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อให้ได้เซลล์จากการเลียนแบบที่มีลักษณะเดียวกันมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งแอนติบอดีจะได้รับการพัฒนาให้มีความจำเพาะ และออกฤทธิ์ต่อต้านเซลล์มะเร็งชนิดนั้น ๆ แบบเจาะจง
2. ยับยั้งการทำงานที่อิมมูนเช็คพอยต์ (Immune Checkpoint Inhibitors)
การยับยั้งระบบควบคุม และสั่งการให้มีการทำลายเซลล์แปลกปลอม หรือหยุดการทำลายเซลล์ของร่างกาย (Immune Checkpoint) ในบางกรณีเซลล์มะเร็งจะอาศัยระบบนี้ในการซ่อนตัวจากการถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งยาในกลุ่มนี้ได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันสามารถตรวจจับเซลล์มะเร็งได้ดีมากยิ่งขึ้น
3. วัคซีนโรคมะเร็ง (Cancer Vaccines)
เป็นการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สามารถทำลายเซลล์มะเร็ง เพื่อป้องกันร่างกายให้ปลอดภัยจากมะเร็ง เช่น วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ซึ่งการฉีดวัคซีนรักษาโรคมะเร็ง เป็นการออกแบบเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจดจำเซลล์มะเร็งไว้ เมื่อมีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นในร่างกาย ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทำหน้าที่กำจัดเซลล์มะเร็งชนิดนั้นได้อย่างทันที
4. ภูมิคุ้มกันบำบัดแบบไม่จำเพาะ (Non-specific Immunotherapies)
การออกฤทธิ์ต่อต้าน ทำลาย และป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งไม่ได้จำเพาะเซลล์มะเร็งแบบเจาะจงโดยตรง การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดประเภทนี้ เป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยทั่วไป เพื่อให้ร่างกายตอบสนองต่อเซลล์มะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การออกฤทธิ์ต่อต้าน ทำลาย และป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งไม่ได้จำเพาะเซลล์มะเร็งแบบเจาะจงโดยตรง การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดประเภทนี้ เป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยทั่วไป เพื่อให้ร่างกายตอบสนองต่อเซลล์มะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การวิจัยในระดับของเซลล์ ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา และทีมงานนักวิจัย ได้พัฒนาการรักษาทางเลือกใหม่ที่ช่วยในการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด การกระตุ้นเซลล์ T-Cell ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยแข็งแรงขึ้น และต่อสู้กับโรคร้ายได้ โดยไม่ต้องพึ่งการทำเคมีใด ๆ ที่มีผลข้างเคียงกับร่างกาย และที่สำคัญ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงได้อย่างยั่งยืน
จากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยท่านหนึ่ง คุณเอ (นามสมมุติ) ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง จากการติดเชื้อ HIV และเป็นโรคมะเร็งสมองร่วมด้วย ผู้ป่วยไม่ได้เข้ารับการรักษาด้วยการทำเคมีบำบัด เนื่องจากร่างกายอ่อนแอ แพทย์จึงแนะนำให้ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงขึ้นก่อน จึงจะสามารถเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัดได้
ซึ่งการติดเชื้อ HIV คือ ภาวะที่จะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายค่อย ๆ ลดลง เพราะโดยปกติแล้วร่างกายจะมีเม็ดเลือดขาว CD4 (T-helper) ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันสำคัญที่มีหน้าที่ควบคุม และต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ เมื่อไหร่ก็ตามที่ร่างกายติดเชื้อ HIV เชื้อไวรัสจะไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ค่า CD4 ต่ำลง (คนปกติจะมีค่า CD4 ที่ 600 – 1,000 เซลล์ต่อเลือด 1 ลบ. มม.) หมายความว่า HIV คือ ภาวะอาการติดเชื้อ HIV ไม่ได้ทำร้ายตัวผู้ติดเชื้อแต่จะทำลายภูมิคุ้มกันให้ลดลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งร่างกายอ่อนแอ ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ จนพัฒนาไปเป็นเอดส์ (AIDS) และยังมีโอกาสที่จะเป็นโรคต่าง ๆ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องส่งผลให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “โรคฉวยโอกาส”
การเกิดโรคฉวยโอกาส หรือ การพัฒนาไปเป็นโรคเอดส์ คือ ภาวะที่น่ากลัว และอันตรายมากของ HIV อย่างที่กล่าวไปว่า HIV ไม่ได้ทำร้ายร่างกายของผู้ติดเชื้อโดยตรง แต่กลับไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือร่างกายจะรับเชื้อโรค และเกิดอาการเจ็บป่วย ผลที่เกิดขึ้นจะรุนแรง หรือบางเบาแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับร่างกายของผู้ติดเชื้อ ทางด้าน ศ.ดร.พิเชษฐ์ จึงให้ความรู้เพิ่มเติมในส่วนนี้เพิ่มเติม
“หากผู้ป่วยต้องการทำเคมีบำบัด ผู้ป่วยต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือดมีปริมาณเพิ่มขึ้นมาเสียก่อน อยู่ในระดับที่ปลอดภัย จึงจะสามารถเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัดได้ เพราะการทำเคมีบำบัดเป็นฆ่าเซลล์มะเร็งได้ก็จริง แต่ก็ฆ่าเซลล์เม็ดเลือดขาวด้วยเช่นกัน หากผู้ป่วยมีเซลล์เม็ดเลือดขาวน้อย และเกร็ดเลือดต่ำ อาจทำให้ติดเชื้อ และเสียชีวิตได้”
กำลังใจสำคัญที่ทำให้คุณเอต่อสู้กับโรคมะเร็ง และ HIV ได้
คุณเอ เป็นผู้ป่วยอีก 1 ท่าน ที่ได้มีโอกาสเข้ารับการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด โดยมีคุณแม่เป็นกำลังใจสำคัญ และอยู่เคียงข้างเธอมาโดยตลอด จนคุณแม่ได้ศึกษางานวิจัยของ Operation BIM และมีโอกาสได้รับคำแนะนำจาก ศ.ดร.พิเชษฐ์ ซึ่งศ.ดร. พิเชษฐ์ ได้อธิบายการทำงานของภูมิคุ้มกันบำบัดนี้ว่า
“การรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดนั้น ภูมิคุ้มกันบำบัดจะไปกระตุ้นเม็ดเลือดขาวเซลล์ T พิฆาต (Killer T cell) ที่มีหน้าที่ไปฆ่าเซลล์ทุกชนิดที่ผิดปกติในร่างกาย รวมถึงมะเร็งด้วย เพราะฉะนั้นสิ่งนี้จะช่วยเหลือผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำได้อย่างยั่งยืนโดยที่ไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ”
หลังเข้ารับการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด
จากที่คุณเอใช้เริ่มใช้วิธีภูมิคุ้มกันบำบัดไปได้ประมาณ 1 เดือน เธอก็เริ่มลุกขึ้นนั่งได้โดยมีอาการเจ็บน้อยลง พอร่างกายเริ่มดีขึ้นก็ไม่เจ็บอีกต่อไป เธอเล่าว่าครั้งแรกที่เธอนั่งได้รู้สึกดีใจมาก จนเริ่มเดินได้คุณเอก็บอกกับตัวเองว่าเธอเป็นคนโชคดี เหมือนกับว่ายังไม่ถึงชะตา จนทุกวันนี้เธอสามารถลุกเดินเหินได้อย่างคนปกติแล้ว การที่ได้เจอโรคร้าย ๆ พร้อมกันถึง 2 โรค จากความรู้สึกส่วนตัวแล้วคุณเอมองว่ามะเร็งเป็นสิ่งที่น่ากลัวกว่า HIV แต่ถ้าพูดตามหลักความเป็นจริงแล้ว การที่คุณเอมีก้อนเนื้อร้ายนั่นก็มีจุดเริ่มต้นมาจากเชื้อ HIV ถึงอย่างไรก็ตามในท้ายที่สุดคุณเอก็สามารถต่อสู้กับความเลวร้ายดังกล่าวได้สำเร็จ และสิ่งที่คุณเอขอบคุณที่สุดก็คือ ครอบครัวที่คอยดูแลและให้กำลังใจอยู่เสมอ นักกายภาพบำบัดที่คอยช่วยเหลือทั้งทางกายและจิตใจ และ ศ.ดร. พิเชษฐ์ วิริยะจิตราที่คิดค้นนวัตกรรมภูมิคุ้มกันบำบัดขึ้นมา ถึงแม้ว่าเธอจะรู้สึกท้อแท้บ้างในบางวันแต่สุดท้ายเธอก็ฝ่าฟันจนร่างกายกลับมาแข็งแรงได้อย่างคนปกติ ไม่ต้องเจ็บป่วย และทรมานเหมือนเดิม การรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ป่วย เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
การจะมีร่างกายที่แข็งแรงเพื่อให้ต่อสู้กับโรคร้ายได้นั้น นอกจากจะมีตัวช่วยที่ดีแล้ว กำลังจากคนรอบข้างก็สำคัญมาก หากมีคนรอบข้างคอยใส่ใจ ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน สิ่งนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยมีกำลังใจในการดูแลตนเองให้กลับมามีสุขภาพที่ดีได้เร็วยิ่งขึ้น และอยากใช้ชีวิตต่อไปในทุก ๆ วัน